ม.จ.จุลเจิม ไม่เข้าใจปล่อย เจดีย์อัฐิพระราชธิดา ร.1 ทรุดโทรม ถาม กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ทำไมไม่คิดปรับปรุง เพื่อถวายพระเกียรติยศ ม.จ.จุลเจิม ยุคล ออกมาโพสต์เชิงตั้งคำถามถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา ถึงสาเหตุที่ เจดีย์ปลา ที่วัดดุสิดาราม คาดว่าเป็นที่บรรจุอัฐิของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระราชธิดาของรัชกาลที่ 1 ถูกปล่อยให้ทรุดโทรม เหลือแต่ซากปรักหักพัง
จากภาพของเจดีย์ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ
ที่ ม.จ.จุลเจิม ได้โพสต์ลงสื่อโซเชียลของตัวเองนั้น จะสังเกตุได้ว่า บริเวณซึ่งเจดีย์นี้ตั้งอยู่เต็มไปด้วยใบไม้ รากไม้ที่เกาะเกี่ยวกระหวัดกันอยู่อย่างหนาแน่น แถมสภาพโดยรอบก็ดูทรุดโทรม บ่งบอกให้เห็นว่าไม่มีการดูแลรักษามาเป็นเวลานาน
ขณะเดียวกันนอกจากออกเรียกร้องถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ม.จ.จุลเจิม ยังได้อ้างอิงประวัติของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี โดยพระนามเดิมชื่อว่า แจ่ม เป็นประราชธิดาพระองค์ที่ 5 ในรัชกาลที่ 1 ประสูติจากสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในปี พ.ศ. 2313 สิ้นพระชนมในวันที่ 7 สิงหาคม 2351 สิริพระชนมายุ 38 พรรษา
นอกจากนี้ รัชกาลที่ 1 ยังพระราชทานพระโกศทองใหญ่ ทรงพระศพให้ แต่พงศาวดารบางเล่มบอกว่า ได้รับพระราชทานโกศไม้สิบสอง ส่วนในพิธีพระราชทานเพลิงศพ รัชกาลที่ 1 ทรงพระภูษาลายพื้นขาวทุกวัน ดำรัสว่า “ลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้”
จับตาที่ประชุม ศบค. หารือกลับมาใช้มาตรการ Test&Go กระตุ้นธุรกิจการท่องเที่ยว เบื้องต้วางแนวทางใช้ หมอชนะ ป้องกันนักท่องเที่ยวหลบหนี
นาย ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เปิดเผยว่าในวันพรุ่งนี้ ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก จะร่วมกันพิจารณารายละเอียด และมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการ Test&Go ที่อาจจะมีการนำกลับมาใช้อีกครั้ง หลังจากที่ต้องระงับการลงทะเบียนชั่วคราว เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิดโอมิครอน
หมอแล็บ ยันอีกเสียง ‘เดลตาครอน’ ไม่มีอยู่จริง
หมอแล็บแพนด้า ยันชัดอีกเสียง โควิดพันธุ์ลูกผสม เดลตาครอน ไม่มีอยู่จริง หลังก่อนหน้านี้ข่าวลือพบ โควิดสองสายพันธุ์ผสมกันที่ไซปรัส ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ศาสตราจารย์ ลีออนดิออส คอสทริคีส หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและไวรัสวิทยาระดับโมเลกุล มหาวิทยาลัยไซปรัส ได้เปิดเผยกับทีวีท้องถิ่นวันที่ 7 มกราคมว่า ได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อ “โอมิครอน+เดลตา” สองสายพันธุ์ในผู้ป่วย ซึ่งเป็นไวรัสโควิดกลายพันธุ์สองสายพันธุ์ผสมกันในตัวเดียวกัน จึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “เดลตาครอน” (Deltacron) โดยมียีนที่เป็นเอกลักษณ์ของโอมิครอน ฝังตัวอยู่ในยีนของเดลตา
หลังจากข่าวเรื่องไวรัสกลายพันธุ์ เดลตาครอน ตัวนี้ถูกนำเสนออกไปก็สร้างความกังวลให้กับคนจำนวนมาก แต่ล่าสุด ฐานข้อมูลกลางโควิดโลก หรือ GISAID ที่มีหน้าที่ทางวิชาการในการตรวจสอบรหัสพันธุกรรมของไวรัสก่อโรคโควิดมาตลอดสองปี ยืนยันแล้วว่า เจ้าเดลตาครอนนี้ไม่มีอยู่จริง
เช่นกับที่ ล่าสุด (20 ม.ค.65) เฟซบุ๊กแฟนเพจ หมอแล็บแพนด้า ของทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์คนดัง ได้โพสต์อัปเดตเกี่ยวกับเจ้าโควิดพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน” นี้เช่นกัน โดยช่วยยืนยันอีกเสียงว่า ไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าว ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นไวรัสสายพันธุ์เดลตาเดิม
ข้อความจากโพสต์ของหมอแล็บแพนด้า ระบุดังนี้ “ชัดเจนแล้ว ไวรัสเดลตาครอน (Deltacron) ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นไวรัสสายพันธุ์เดลตาเดิมที่ปนเปื้อนในขั้นตอนตรวจแล็บวิเคราะห์สารพันธุกรรม”
หลังจากโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตหลายคนก็เข้ามาแสดงความเห็นโดยยอมรับว่า รู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อได้ทราบข่าวนี้
ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่เพจหมอแล็บฯ จะออกมายืนยันข้อมูลว่า ไวรัสเดลตาครอนไม่มีอยู่จริงนั้น ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา คือบุคคลแรกที่โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ยืนยันความชัดเจนกรณีประเทศไซปรัสพบการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่าง “เดลตา” กับ “โอไมครอน” ที่มีชื่อว่า “เดลตาครอน” โดยเนื้อหาฉบับเต็ม อธิบายรายละเอียดทั้งหมดไว้ ตามข้อมูลด้านล่างนี้
“ความรู้เรื่อง COVID-19 (ตอนที่ 1094) 19 มค2565 ชัดเจนแล้ว ไวรัส Deltacron ไม่มีอยู่จริง จบดราม่าไวรัสใหม่จากไซปรัส จากกรณีนักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยไซปรัส ได้ออกข่าวไปทั่วโลก ผ่านสำนักข่าวต่างประเทศบางแห่งว่า ได้พบไวรัสก่อโรคโควิดสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด และตั้งชื่อเรียบร้อยด้วยว่า เดลตาครอน (Deltacron) เพราะเชื่อว่าเป็นการผสมพันธุ์กันระหว่างไวรัสเดลต้ากับไวรัสโอมิครอน”
“ต่อมาสื่อของประเทศไทยบางแห่ง ก็ได้นำเสนอข่าวดังกล่าวด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดเป็นประเด็นของความตื่นเต้นไปทั่วว่า มีไวรัสตัวใหม่เกิดขึ้น ขณะนี้มีความชัดเจนเรียบร้อยแล้วคือ GISAID หน่วยงานกลางระดับโลก ที่มีหน้าที่ทางวิชาการในการตรวจสอบรหัสพันธุกรรมของไวรัสก่อโรคโควิดมาตลอดสองปี โดยจะมีหน่วยงานของประเทศต่างๆ ส่งรหัสพันธุกรรมของไวรัสไปให้ GISAID ตรวจสอบและทำการจัดหมวดหมู่ ก่อนจะประกาศรับรองต่อไป”
Credit : iwamisoh.com jtrk57.net katetriano.net kichoudaikou.com lapidisrael.org levitravardenafilgeneric.net materterapia.net mentaltraining24.net meridiannet.net metropolisspasalon.net