‘ประยุทธ์’ จัดทหารเตรียมช่วยรับสายด่วนโควิด 1330

‘ประยุทธ์’ จัดทหารเตรียมช่วยรับสายด่วนโควิด 1330

โฆษกสำนักนายกฯ เผย ประยุทธ์ สั่ง ศปม. จัดเตรียทหารรวม 200 คู่สายในการช่วยรับสายด่วนโควิด 1330 เพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด นาย ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. มีคำสั่งให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) จัดกำลังพลสนับสนุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปฏิบัติหน้าที่รับสายด่วน 1330

ซึ่งมีปริมาณผู้โทรเข้ามาจำนวนมาก เพื่อช่วยเร่งนำผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ระบบ ให้ประชาชนเข้าถึงการดูแล และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน

นายธนกร กล่าวว่า ศปม. ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานสายด่วน ศปม. สนับสนุน สปสช. จำนวน 200 คู่สาย แบ่งเป็น กองบังคับการ ศปม. 40 คู่สาย ศปม.กองทัพบก 80 คู่สาย ศปม. กองทัพเรือ 40 คู่สาย และ ศปม. กองทัพอากาศ 40 คู่สาย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 สปสช. ได้จัดการอบรมและซักซ้อมการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่สายด่วน และการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ สปสช.

โดย สปสช. มีแนวทางการปฏิบัติเป็นคู่มือ มีรายละเอียดของหน่วยงานที่จะต้องประสานส่งต่อข้อมูล มีกลุ่มไลน์ของผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่ และรับเคสที่มีความซับซ้อนไปดำเนินการต่อ รวมทั้งมีช่องทางประสานส่งต่อเคสด่วนไปยัง 1669 โดยแต่ละเหล่าทัพจัดสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และคอมพิวเตอร์ ให้เพียงพอกับการปฏิบัติภารกิจ

“กำลังพลที่เข้ามาช่วยเหลือจะปฏิบัติภารกิจตั้งแต่เวลา 08.00-16.30 น. ของทุกวัน เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีขีดความสามารถในการบันทึกข้อมูล มีทักษะการพูดคุยที่สุภาพ อดทน ใจเย็น นอกจากนี้ ศูนย์ประสานงานสายด่วน ศปม. ได้จัดผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติ พร้อมมีการชี้แจงการปฏิบัติให้กับกำลังพลเมื่อมีการหมุนเวียน ประสานการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น และกำหนดให้รายงานผลการปฏิบัติตามวงรอบที่กำหนด และสรุปปัญหาข้อขัดข้อง เพื่อแก้ไขให้การปฏิบัติมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” โฆษกรัฐบาล กล่าว

‘ประยุทธ์’ เรียกประชุม กพช. ด่วน หามาตรการรับมือ น้ำมันราคาแพง

ประยุทธ์ เรียกประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ด่วน หามาตรการรับมือ น้ำมันราคาแพง หลังจากที่น้ำมันราคาปรับตัวเพิ่มต่อเนื่อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโกม ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก เปิดเผยว่าตนได้เข้าประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. เพื่อหาทางรับมือราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากวิกฤติสงครามระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครน

รวมทั้งการอุดหนุนเงินให้แก่ผู้ที่มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผ่านโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น ซึ่งก็สามารถกระตุ้นกำลังซื้อและเสริมสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามวิกฤตต่างๆ ยังคงมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง และต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องของราคาพลังงานโลก ซึ่งในวันนี้ (9 มี.ค.) จะมีการประชุม “วาระเร่งด่วน” ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อกำหนดมาตรการด้านพลังงาน และเร่งรัดให้มีผลบังคับใช้ เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนโดยเร็วต่อไป

สำหรับมาตรการด้านพลังงานในระยะยาว ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) นั้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลมุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม เช่น

1. โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบไฮบริด “Hydro Floating Solar Hybrid System” ที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประมาณ 70 สนามฟุตบอล มีแผงโซลาร์เซลล์มากถึง 145,000 แผง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์ ลักษณะสำคัญคือเป็น “ทุ่นลอยน้ำ” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศใต้น้ำ

รวมทั้งช่วยลดการระเหยของน้ำในเขื่อนได้ประมาณ 460,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี และมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าดีกว่าการติดตั้งบนบกถึง 10-15% ซึ่งได้เริ่มดำเนินการจ่ายกระแสไฟตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว และกลายเป็นต้นแบบการผลิตพลังงานสะอาดที่ต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอันมาก ซึ่งรัฐบาลมีโครงการสนับสนุนการสร้างโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบไฮบริดนี้ในเขื่อนอื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะได้พลังงานสะอาดแล้ว ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นและจุดยืนของประเทศไทยในการเป็นผู้นำด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคให้กับประชาคมโลก และยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอีกด้วย

2. การขับเคลื่อนประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เช่น นโยบาย 30@30 ที่ต้องการยกระดับประเทศไทยให้เป็น “ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า” และชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ที่ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle : ZEV) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด ในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้ออก มาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย (1) เงินอุดหนุน : รถยนต์/รถกระบะไฟฟ้า 70,000 – 150,000 บาท/คัน และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 18,000 บาท/คัน (2) ลดภาษีสรรพสามิต : รถยนต์ไฟฟ้าเหลือ 2% และรถกระบะไฟฟ้าเหลือ 0% (3) มาตรการอื่นๆ : ลดอากรนำเข้า สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากร เป็นต้น

ผมตระหนักดีว่า ปัญหาด้านพลังงานเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วน ที่มีผลกระทบกับทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะต้นทุนและเศรษฐกิจในการดำเนินชีวิตของพ่อแม่พี่น้องประชาชนทุกคน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งผมมีความเป็นห่วงอย่างยิ่ง ในปัจจุบันเรายังต้องอาศัยการนำเข้าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ขอให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่นว่า รัฐบาลมีแผนการรองรับไว้เป็นขั้นเป็นตอน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท เพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนทางพลังงาน ลดการพึ่งพา 

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป